iFreeThai

You are not logged in.

#1 March 7, 2021 8:07 AM

Saengdara
Member
Registered: July 22, 2015
Posts: 22

Kyaw Moe Tun ระหว่างเสรีชน กับทาสที่ปล่อยไม่ไป

1615125844_kyaw_moe_tun.jpg
Add title  Kyaw Moe Tun
Kyaw Moe Tun ระหว่างเสรีชน กับทาส



ระหว่างเสรีชน กับทาสที่ปล่อยไม่ไป – ภาพที่สะเทือนไปทั่วโลกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คือภาพเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของพม่าประจำสหประชาชาติ ชูสามนิ้วในเวทีการประชุมของยูเอ็น
ภายหลังการแถลงต่อนานาชาติ ขอให้ยูเอ็นพยายามทุกทางในการต่อต้านกองทัพที่ยึดอำนาจ เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยกลับคืนมา
แถลงจบก็ชูสามนิ้ว สัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพอันเป็นสากล

จากนั้นไม่นาน รัฐบาลทหารพม่าก็สั่งปลดทูตคนนี้ทันที
ด้วยข้อกล่าวหา ทรยศชาติ
ถ้าเป็นบ้านเราก็คือข้อหาชังชาติ ที่พวกฝักใฝ่ความล้าหลัง มักกล่าวหาคนที่ปรารถนาเปลี่ยน แปลงสังคมไทยให้พ้นจากวังวนเดิมๆ!
คนที่พม่า ชูสามนิ้วกันทั่วประเทศ เพื่อขับไล่รัฐบาลทหาร ที่เข้ามายึดอำนาจ ด้วยข้ออ้างมีการโกงเลือกตั้ง
ไม่มีการสอบสวน ไม่มีพยานหลักฐาน และถ้าโกงจริง ก็ต้องแก้ตามกระบวนการ ต้องเลือกตั้งใหม่
กองทัพไม่มีอำนาจหน้าที่แก้โกงเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิเข้ามายึดอำนาจ ด้วยเหตุผลเพื่อแก้โกง

เหมือนบ้านเรา อ้างว่ามีทุจริตจำนำข้าว แล้ว กปปส.ชุมนุมไล่รัฐบาล ลงเอยให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ ไม่เป็นเหตุเป็นผลอะไรเลย
ทหารมีอำนาจหน้าที่แก้นักการเมืองโกงด้วยหรือ

เสร็จแล้ว ทหารคณะคสช. ที่กปปส.ปูทางให้เข้ามารัฐประหาร ก็อยู่ในอำนาจ 5 ปี

นายกฯและแกนนำ อยู่ในอำนาจต่อจนถึงวันนี้ 7 ปีแล้ว!
มีการแก้ไขทุจริตอย่างเป็นระบบหรือไม่ มีการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปอะไรหรือไม่ นอกจากการยึดอำนาจไปครอบครอง
พอดิบพอดี ที่ในบ้านเรา วีรกรรมกปปส.เพิ่งกลับมาเป็นข่าว

ย้ำเตือนสังคมไทย ว่าเราได้อะไร หรือสูญเสียอะไรไปมหาศาล จากการสู้เพื่อให้มีรัฐประหาร!
ขณะที่เพื่อนบ้านเรา คนพม่ากำลังต่อสู้กันทั้งประเทศ คนพม่าในไทยก็ร่วมหนุนสู้ เพราะรู้ดีว่า การตกอยู่ในอำนาจรัฐบาลทหาร คือการพังพินาศทุกด้าน
รายการ “ข่าวสดจุดเกิดเหตุสเปเชี่ยล” ที่ฮอตฮิตในโลกโซเชี่ยล โดยอาร์ทตี้ พิธีกรภาคสนาม ไปเดินสำรวจตลาดพม่า ย่านสุขุมวิท 71
คนพม่าในไทยพากันหลั่งน้ำตา ที่เห็นคนในประเทศสู้ยิบตา เพื่อปกป้องประชาธิปไตย ส่งแรงใจไปหนุนเต็มที่ ดูแล้วต้องนึกถึงม็อบบ้านเราที่ทำตรงกันข้าม เมื่อ 7 ปีก่อน
ยิ่งชัดถึงคำว่า เสรีชนคืออะไร ตรงข้ามกับ “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” อย่างไร!?

เพิ่มเติม จาก Pipob Udomittipong
1tmhgSp1honsmoraed  ·

The New York Times
ทำโปรไฟล์ของท่าน Kyaw Moe Tun ทูตพม่าที่ชูสามนิ้วในที่ประชุมยูเอ็น ถ้ารู้ว่าแบ็คกราวน์เขาเป็นแรงงานอพยพมาก่อน เราอาจไม่เปลกใจที่ทำไมเขากล้าหาญแบบนั้น
ถึงจะเป็นคนร่วมสมัยกับการยึดอำนาจในปี 1988 ตอนอยู่ปี 3 ที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง จอโมตุนไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงเลย พ่อเขาเคยรับราชการ ทำงานให้กับนายพลที่ยึดอำนาจก่อนหน้านั้นในปี 1962 ด้วย แต่ผลจาก #รัฐประหาร ในปี 1988 รบ.ทหารสั่งปิดมหาวิทยาลัย เขาเลยต้องออกไปหางานทำนอกปท. ทำงานรง.ประกอบตู้เย็น โคมไฟที่ #มาเลเซีย ทำงานในเรือที่ #สิงคโปร์ ได้มาเห็นความเจริญด้านวัตถุที่เมืองไทย     
เขาเดินทางกลับปท.ปี 1991 ไปเรียนหนังสือต่อจนจบป.ตรี เข้ารับราชการกระทรวงการต่างประเทศมาเรื่อย ๆ จนได้เป็นเอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ เมื่อตค.ปีที่แล้ว ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของคนรับราชการตปท. รบ.ทหารพยายามไล่เขาออก แต่ไม่สำเร็จ ไม่มีใครยอมรับตำแหน่งของเขา ส่วนยูเอ็นก็ยังยอมรับเขาในตำแหน่งเดิม
จอโมตุนบอกว่า “ในฐานะข้าราชการ เรามีหน้าที่รับฟังคำสั่งจากรัฐบาล แต่กองทัพยึดอำนาจอย่างผิดกม. ถึงเวลาที่เราต้องแสดงอุดมการณ์ที่แท้จริง ความต้องการที่แท้จริงของเรา หน้าที่ของเราที่มีต่อประชาชนชาวเมียนมา”
ไม่ต้องแปลกใจที่เราแทบไม่เห็นข้าราชการตปท.ที่กล้าหาญแบบนี้ในไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการรับข้าราขการตปท.ของไทยที่มักดูจากนามสกุลไว้ก่อน หอคอยงาช้างทั้งนั้น
https://www.nytimes.com/2021/03/06/world/asia/myanmar-protests-un-ambassador.html
156958653_10159012101736649_1222274852872149768_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-3&_nc_sid=730e14&_nc_ohc=voyxyvv2FWIAX-7En_e&_nc_ht=scontent.xx&tp=7&oh=5772fb74549fd7249a4d68a3261cf63b&oe=606B4873

Last edited by Saengdara (March 7, 2021 9:42 AM)

Offline

#2 April 1, 2021 5:48 AM

casala
Member
Registered: July 18, 2015
Posts: 399

Re: Kyaw Moe Tun ระหว่างเสรีชน กับทาสที่ปล่อยไม่ไป

จงยึดมั่นประชาธิปไตย

Offline

Board footer

iFreeThai is public forum for Thai, Lao, Vietnamese and American. We discuss about News, Politics and Human Rights issues through Southeast Asia. For inquiries please contact: Dr. Richard Saisomorn P O BOX 194 SPIRO, OKLAHOMA 74959 USA ; E-mail: amerilao@gmail.com
*All articles and photos published on this website is copyrighted by their respective owners.